19 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น "วันอาภากร"
19 พฤษภาคม 2565ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
19 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น "วันอาภากร"
เป็นวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ “องค์บิดาของทหารเรือไทย”
กองทัพเรือได้กำหนดให้วันที่ 19 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันอาภากร เนื่องจากวันนี้เมื่อปี พุทธศักราช 2466 เป็นวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ “องค์บิดาของทหารเรือไทย” และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณของ พระองค์ท่านที่ได้ทรงพัฒนากิจการทหารเรือให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีความเจริญก้าวหน้าเป็นที่ประจักษ์ มาตราบเท่าทุกวันนี้
นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (ต้นราชสกุลอาภากร) เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ 28 กับทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ที่ 1 ใน เจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช 1242 เวลา 15.57 น.
นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีพระกนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา (สิ้นพระชนม์ขณะทรงพระเยาว์) และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธุ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภา ส ในปี พ.ศ.2436
ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ 13 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าให้ เสด็จในกรมฯ เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ซึ่งการศึกษาของเสด็จในกรมฯ ณ ประเทศอังกฤษนั้น ในขั้นแรก พระองค์ได้ประทับร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ไบรตันและแอสคอต เพื่อทรงศึกษาภาษาและวิชาเบื้องต้น ต่อมาได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาขั้นต้นสำหรับเตรียมเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรืออังกฤษ ที่โรงเรียนกวดวิชา The Linnes และศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรืออังกฤษ ตามลำดับ และเมื่อทรงสำเร็จการศึกษาในปี 2443 พระองค์ได้ทรงเข้ารับราชการในกรมทหารเรือโดยได้รับพระราชทานยศเป็น นายเรือโท (เทียบเท่า นาวาตรี ในปัจจุบัน)
พระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ ทรงกำหนดแบบสัญญาณธงสองมือและโคมไฟ ทรงริเริ่มกำหนดแบบสัญญาณธงสองมือและโคมไฟ ตลอดจนเริ่มฝึก พลอาณัติสัญญาณ (ทัศนสัญญาณ) ขึ้นเป็นครั้งแรก ทหารเหล่าทัศนสัญญาณ จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปีนี้ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2443 การจัดตั้งหน่วยฝึกพลทหารที่บางพระในช่วงเวลาประมาณ 2 ปี ที่เสด็จในกรมฯ ทรงรับราชการ ในกรมทหารเรือ พระองค์คงจะทรงสังเกตว่านายทหารและพลทหารในเวลานั้นขาดทั้งความรู้ ความสามารถ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพราะระบบการเรียกเข้ารับราชการและการฝึกไม่เอื้ออำนวยให้ ประกอบกับขาดแคลนผู้ฝึกที่มีความสนใจและตั้งใจจริง
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2445 พระองค์จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้งหน่วยฝึกขึ้นที่บางพระ เพื่อเรียกพลทหารจากจังหวัดชายทะเลในภาคตะวันออกมารับการฝึกการจัดระเบียบการบริหารราชการกรมทหารเรือขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2445 เสด็จในกรมฯ ได้ทรงจัดระเบียบราชการกรมทหารเรือขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติศักดินาทหารเรือ ร.ศ.112 เรียกว่า “ข้อบังคับการปกครอง” แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ
ตอนที่ 2 ว่าด้วยการเร่งคนรับคนเป็นทหาร
ตอนที่ 3 ว่าด้วยยศทหารเรือ โครงสร้างกำลังทางเรือ และการปรับปรุงด้านการศึกษา
ในช่วงที่ทรงทำการในตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ในปี พ.ศ.2448 เสด็จใน กรมฯ ทรงจัดทำโครงการป้องกันประเทศทางด้านทะเลขึ้น ตามคำขอของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุน นครสวรรค์วรพินิต โดยทรงทำเสร็จในเดือนตุลาคม และให้ชื่อว่า “ระเบียบจัดการป้องกันฝ่ายทะเลโดยย่อ” มีความยาวประมาณ 5 – 6 หน้า และด้วยความพยายามของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่งทรงพระดำริเห็นชอบกับโครงการสร้างกำลังทางเรือของเสด็จในกรม ฯ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2449 กรมทหารเรือจึงได้รับงบประมาณ ให้สั่งต่อเรือ ล. หรือ Torpedoboat Destroyer 1 ลำ ซึ่งต่อมาได้รับพระบรมราชโองการให้เรียกว่า “เรือพิฆาฎตอรปิโด” และพระราชทานชื่อว่า “เสือทยานชล” พระองค์ได้ทรงแก้ไขปรับปรุงระเบียบการในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียน นายเรือ และทรงริเริ่มการใช้ระบบปกครองบังคับบัญชาตามระเบียบการปกครองในเรือรบ คือ การแบ่งให้นักเรียนชั้นสูงบังคับบัญชาชั้นรองลงมา
นอกจากนี้ ทรงจัดเพิ่มวิชาสำคัญสำหรับ ชาวเรือขึ้น เพื่อให้สำเร็จการศึกษา สามารถเดินเรือทางไกล ในทะเลน้ำลึกได้ คือ วิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ อุทกศาสตร์ การเดินเรือ เรขาคณิต พีชคณิต ฯลฯ รวมทั้งโปรดให้สร้าง โรงเรียนช่างกลขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง นอกจากนั้นแล้วยังโปรดให้นักเรียนนายเรือฝึดหัดภาคปฏิบัติ นอกเหนือจากการเรียนภาคทฤษฎีขอพระราชทานพระราชวังเดิมเป็นโรงเรียนนายเรือ เสด็จในกรมฯ ทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญที่ทำให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญและโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนนายเรือ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2449 ทำให้กิจการทหารเรือมีรากฐานมั่งคงนับ แต่นั้น และกองทัพเรือได้ยึดถือเอาวันดังกล่าวของทุกปีเป็นวัน “กองทัพเรือ” ต่อมาเมื่อโรงเรียน นายเรือได้ย้ายไปอยู่ที่ปากน้ำ กองทัพเรือก็ได้ใช้พระราชวังเดิมเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการต่าง ๆ ในส่วนบัญชาการกองทัพเรือ จวบจนกระทั่งทุกวันนี้
การจัดตั้งกำลังอากาศนาวี ความคิดในการจัดตั้งกำลังทาง อากาศนาวี (Naval Air Arm) นั้น ได้มีมาตั้งแต่ พ.ศ.2464 เมื่อเสด็จในกรมฯ ครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการกระทรวงทหารเรือ ทรงเสนอความเห็นต่อที่ประชุมสภาบัญชาการกระทรวงทหารเรือ ว่า “สมควรเริ่มตั้งกองบินทะเลขึ้น ในปี พ.ศ.2465 โดยใช้สัตหีบเป็นถาน (ฐานทัพ)” ซึ่ง สภาบัญชาการฯ มีมติอนุมัติข้อเสนอเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2464 ดังนั้น กองการบินทหารเรือ จึงได้ถือเอาวันที่ 7 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนาหน่วย และชาวบินนาวี ได้ยึดถือว่า พระองค์ทรงเป็นองค์บิดาแห่งการบินนาวี ด้วย ฐานทัพเรือสัตหีบ จากการที่พระองค์ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ที่เล็งเห็นการณ์ที่ไกล พระองค์ได้ทูลเกล้า ขอพระราชทานที่เดินบริเวณอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างเป็นฐานทัพเรือเนื่องจากทรง พิจารณาแล้วเห็นว่า อ่าวสัตหีบเป็นอ่าวที่มีขนาดใหญ่น้ำลึกเหมาะแก่การฝึกซ้อมยิงตอร์ปิโดได้ และเกาะใหญ่น้อยที่รายรอบสามารถใช้บังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเรือภายนอกเมื่อแล่นผ่าน พื้นที่ดังกล่าวจะไม่สามารถมองเห็นฐานทัพเรือได้เลย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว ได้ทรงพระราชทานที่ดินที่สัตหีบให้แก่กองทัพเรือเพื่อจัดตั้งเป็นฐานทัพเรือ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2465 ดังพระราชกระแสดังนี้
“การที่จะเอาสัตหีบเปนฐานทัพเรือนั้น ตรงตามความปราถนาของเราอยู่แล้ว เพราะที่เราได้สั่งหวงห้ามที่ดินไว้ ก็ด้วยความตั้งใจจะให้เปนเช่นนั้น แต่เมื่อเห็นว่ายังไม่ ถึงเวลาที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือและไม่อยากให้โจทย์กันวุ่น จึงได้กล่าวไว้ว่าจะต้องการที่ไว้ทำวังสำหรับเผื่อจะมีผู้ขอจับจองฝ่ายเทศาภิบาล จะได้ตอบไม่อนุญาตได้โดยอ้างเหตุ ว่าพระเจ้าอยู่หัวต้องพระราชประสงค์ เมื่อบัดนี้ ทหารเรือจะต้องการที่นั้นก็ยินดีอนุญาติได้”นอกจากพระกรุณาธิคุณของ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ดังที่ได้ได้กล่าวมาแล้ว พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถ และมีคุณูปการอเนกอนันต์แก่กองทัพเรือ อาทิ พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ นำ เรือหลวงพระร่วงจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร นับเป็นครั้งแรกที่นายทหารเรือไทยเดินเรือได้ไกลข้ามทวีป และเมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือหลวงมกุฏราชกุมาร (ลำที่ 1) นำนักเรียนนายเรือและนักเรียนนายช่างกลไปอวดธงที่ชวา ได้ทรงนำเรือแวะที่สิงคโปร์ และเปลี่ยนสีเรือมกุฏราชกุมารจากสีขาวเป็นสีหมอกให้เหมือนกับเรือรบต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนกับลักษณะของสีน้ำทะเลและภูมิประเทศ ซึ่งกองทัพเรือได้นำสีดังกล่าวมาใช้เป็นสีเรือทุกลำของกองทัพเรือตราบจนปัจจุบัน
ในด้านการดนตรีพระองค์ก็มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง เพลงพระนิพนธ์ ของกรมหลวงชุมพรฯ ทุกเพลง จะมีเนื้อหาปลุกใจ ให้มีความรักชาติ กล้าหาญ ยอมสละชีวิตเพื่อชาติ อาทิ เพลงดอกประดู่ เพลงเดินหน้า เพลงดาบของชาติ เป็นต้น ซึ่งเพลงพระราชนิพนธ์ของพรองค์ท่านนับว่าเป็นเพลงปลุกใจที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย เพราะทหารเรือทุกนายได้ขับร้องเพลงเหล่านี้สืบต่อกันมาตราบจนปัจจุบันนับเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 80 ปี ดังนั้นจึงนับได้ว่าเพลงปลุกใจของพระองค์ จึงเป็นเพลงอมตะของทหารเรือ เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงเป็นอมตะอยู่ในจิตใจของทหารเรือ ตลอดเวลา
ในด้านการแพทย์นอกจากพระองค์จะทรงเป็นนักยุทธศาสตร์แล้ว ด้านการแพทย์แผนโบราณ พระองค์ก็ทรงศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง โดยในขณะที่เสด็จในกรมฯ ได้ทรงออกจากประจำการชั่วคราว ระหว่างปี พ.ศ.2454 – พ.ศ.2459 พระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ทรงเขียนตำรา ยาแผนโบราณลงในสมุดข่อยด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง โดยทรงตั้งชื่อตำรายาเล่มนี้ว่า “พระคัมภีร์อติสาระวรรคโบราณะกรรมและปัจจุบันนะกรรม” ซึ่งสมุดเล่มดังกล่าวปัจจุบันได้ถูก เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือสมุทรปราการ ในด้านการรักษาพยาบาล พระองค์ได้ทรงรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่คนทั่วไป โดยไม่เลือก คนจนหรือคนมี และมิได้คิดค่ารักษาหรือค่ายาแต่อย่างใด ทุกคนที่มีความเดือนร้อนจะต้องได้รับ ความเมตตาจากพระองค์ จนเป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไปในนามพระองค์ว่า “หมอพร”
นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงค์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักด์ ได้กราบบังคมทูลออกจากราชการ เพื่อพักผ่อนรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2466 เนื่องจากพระองค์ทรงมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ และประชวรพระโรคภายในอยู่ด้วย ทาง กระทรวงทหารเรือ ได้สั่งการให้จัดเรือหลวงเจนทะเลถวายเป็นพาหนะ และกรมแพทย์ทหารเรือ ได้จัดนายแพทย์ประจำพระองค์ 1 นาย พร้อมด้วยพยาบาลตามเสด็จไปด้วย เสด็จในกรมฯ ได้เสด็จออกจากกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2466 ไปประทับอยู่ด้านใต้ปากน้ำชุมพรซึ่งเป็นที่ที่จองไว้จะทำสวน ขณะที่พระองค์ประทับอยู่นี้ก็เกิดพระโรคหวัดใหญ่เนื่องจาก ถูกฝน ประชวรอยู่เพียง 3 วัน ก็สิ้นพระชนม์ที่ตำบลหาดทรายรี ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2466 สิริพระชนมายุได้ 44 พรรษา ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2466 เรือหลวงเจนทะเลได้เชิญพระศพจากจังหวัดชุมพรมายังกรุงเทพมหานคร และมาพักถ่ายพระศพลงสู่เรือหลวง พระร่วงที่บางนา ต่อจากนั้นเรือหลวงพระร่วง ได้นำพระศพเข้ามายังกรุงเทพมหานคร และนำประดิษฐานไว้ที่วังของพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทาน จนถึงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2466 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพไปพระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง
ถึงแม้ว่า นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จะสิ้นพระชนม์มาเป็นระยะเวลานานถึง 79 ปี แล้วก็ตาม แต่พระกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงทำคุณประโยชน์ให้แก่กองทัพเรืออย่างมหาศาลนั้น ทำให้กิจการของกองทัพเรือเจริญก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ พระองค์ทรงริเริ่มวางรากฐานกิจการ ทหาเรือไทยให้มีความเข้มแข็ง มั่นคงมีสมรรถภาพ สามารถทำหน้าที่เป็นรั้วของชาติทางทะเลได้ เป็นอย่างดีตลอดมา จนทหารเรือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันต่างก็ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์อย่างมิรู้ลืม จึงพร้อมใจกันถวายสมัญญาน