ข้อมูลเทศบาล

ประวัติความเป็นมา

         จากบันทึกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ เดิมบ้านวังศาลาชื่อว่า “บ้านวังเหรา” ซึ่งชาวบ้านเล่าว่ามี
สัตว์ประหลาด ตัวเป็นจระเข้เขาเหมือนควาย ว่ายน้ำมุ่งตรงมายังต้นพลับ ซึ่งมีศาลเจ้าที่ชาวบ้านนับถืออยู่ และใต้น้ำยังมีถ้ำใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของตัวเหรา ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น “บ้านวังศาลา”
ชื่อเดิมๆจึงค่อยๆเลือนหายไป กล่าวกันว่าชาวบ้านพร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นมาวัดหนึ่งตรงข้ามบ้าน
นายมงคล - นางมุ่ย ยิ้มแย้ม ซึ่งมีวังใหญ่น้ำลึกอยู่ใต้วัดลงมาประมาณ ๑๐ วา และทางวัดก็ได้สร้าง
ศาลาไว้ตรงนั้นด้วย ต่อมาตลิ่งพังจึงทำให้ศาลาจมลงไปในน้ำ และที่ตรงนี้ปลาชุกชุมมาก
ตกเย็นจะมีพวกพรานเบ็ดมาตกปลากัน และมักจะตะโกนเรียกถามพรรคพวกว่าจะไปไหน
ก็จะตอบกันไปว่า ไป “วังศาลา” โว้ย ต่อมาจึงกลายเป็นชื่อบ้านวังศาลาจนถึงปัจจุบัน

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์การพัฒนาของตำบลวังศาลา  คือ

    “พื้นฐานมั่นคง  ส่งเสริมการศึกษา  พัฒนาสิ่งแวดล้อม  พร้อมสู่คุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน”

 

พันธกิจ

พันธกิจการพัฒนาตำบลวังศาลา  ประกอบด้วย

1.  มีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีมาตรฐานครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

2.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  มีสุขภาพที่แข็งแรง ให้ประชาชนดำรงชีวิตตามทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3.  ส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ  ส่งเสริมให้นักเรียนที่ยากจน  มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น

4.  ปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นสัดส่วน  เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็กก่อนวัยเรียนให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับสถานศึกษาของเอกชน

5.  สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง  มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ห่างไกลยาเสพติด

6.  ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น

7.  ส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลตำบลวังศาลา

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน  

2. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และสังคมแห่งการเรียนรู้

3. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงและปลอดภัย  

4. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ศาสนาและวัฒนธรรม

            5. ยุทธศาสตร์การบริหารและการมีส่วนร่วม  

 

 

 

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านวังศาลา 528 782 774 1,556 คน
หมู่ที่ 2 บ้านท่าแค 898 869 964 1,833 คน
หมู่ที่ 3 บ้านโพธิ์เลี้ยว 579 570 625 1,195 คน
หมู่ที่ 4 บ้านหนองเสือ 1,056 1,008 1,093 2,101 คน
หมู่ที่ 5 บ้านหนองสะแก 305 412 414 826 คน
หมู่ที่ 6 บ้านหัวพงษ์ 404 513 541 1,054 คน
หมู่ที่ 7 บ้านหนองแจง 412 533 594 1,127 คน
หมู่ที่ 8 บ้านป่าดิบ 169 281 304 585 คน
หมู่ที่ 9 บ้านหนองเสือนอก 496 517 530 1,047 คน
หมู่ที่ 10 บ้านวังทอง 168 277 278 555 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ
     ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของเทศบาลตำบลวังศาลา  เป็นที่ราบลุ่มมีคลองชลประทาน
สายท่าสาร-บางปลาไหลผ่าน  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นพื้นที่พาณิชยกรรม 
บางส่วนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมใช้ในการทำนา  ทำสวนพืชผักผลไม้ และปศุสัตว์ ฯลฯ
 
ลักษณะภูมิอากาศ
     ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของตำบลวังศาลา มีดังนี้
     ๑.  ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม เป็นฤดูเปลี่ยนมรสุมครั้งแรก มีอากาศร้อนจัด
          ในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายปีมีค่าประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียส
     ๒.  ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ตุลาคม อยู่ในช่วงอิทธิพลมรุมตะวันตกเฉียงใต้ 
     ๓.  ฤดูหนาว  เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์    อยู่ในช่วงอิทธิพลของลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศแห้งแล้งและหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำสุดรายปีมีค่าประมาณ
๒๓ องศาเซลเซียส
 
ลักษณะของดิน
     ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย  ประมาณ  ๘๕% ดินลูกรังประมาณ ๑๕ %
 
ลักษณะของแหล่งน้ำ
     พื้นที่ตำบลวังศาลา มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค-บริโภค  คือ แม่น้ำแม่กลอง ไหลผ่านหมู่ที่ ๑,
๒,๓ และหมู่ที่ ๖ เป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีคลองชลประทาน สายท่าสาร-บางปลา
ผ่านข้างเคียงในเขตพื้นที่ตำบลตะคร้ำเอนซึ่งติดกับพื้นที่ตำบลวังศาลา
 
ลักษณะของไม้และป่าไม้
     เขตเทศบาลไม่มีป่าไม้  แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น  ผลัดใบ

 

การเมืองการปกครอง

   

     เทศบาลตำบลวังศาลา อยู่ในเขตปกครองของอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี  ซึ่งตั้งอยู่ห่างจาก
ที่ว่าการอำเภอท่าม่วง เป็นระยะทางประมาณ ๘.๔ กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓
แยกเข้าทางหลวงชนบท กจ ๓๐๓๘  โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ ๓๙ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒๔,๓๗๕ ไร่
ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
              ทิศเหนือ             ติดต่อตำบลดอนเจดีย์     อำเภอพนมทวน     จังหวัดกาญจนบุรี
              ทิศใต้                  ติดต่อตำบลท่าตะคร้อ     อำเภอท่าม่วง        จังหวัดกาญจนบุรี
              ทิศตะวันออก      ติดต่อตำบลตะคร้ำเอน    อำเภอท่ามะกา      จังหวัดกาญจนบุรี
              ทิศตะวันตก        ติดต่อตำบลวังขนาย        อำเภอท่าม่วง        จังหวัดกาญจนบุรี
เทศบาลตำบลวังศาลาแบ่งเขตการปกครอง  ประกอบด้วย  ๑๐  หมู่บ้าน  ดังนี้
     หมู่ที่ ๑      บ้านวังศาลา                นายวิทยา           หาญวิสุทธิ์                           ผู้ใหญ่บ้าน
     หมู่ที่ ๒      บ้านท่าแค                   นายวัชระพงษ์    จันทร์เพ็ญสถาพร                ผู้ใหญ่บ้าน
     หมู่ที่ ๓      บ้านโพธิ์เลี้ยว              นางสาวพิไลวรรณ    หอธรรมรัตน์                 ผู้ใหญ่บ้าน
     หมู่ที่ ๔      บ้านหนองเสือ             นายปราโมทย์    เดชบุญ                               ผู้ใหญ่บ้าน
     หมู่ที่ ๕      บ้านหนองสะแก          นายอัศวิน          ท้าววิบูลย์                            ผู้ใหญ่บ้าน
     หมู่ที่ ๖      บ้านหัวพงษ์                นายอนนต์นัทธ์   พิทักษ์สกุล                         ผู้ใหญ่บ้าน
     หมู่ที่ ๗      บ้านหนองแจง             นายนำชัย         ฉายอรุณ                              กำนันตำบลวังศาลา
     หมู่ที่ ๘      บ้านป่าดิบ                   นายสุชาติ         กาญจนอภิรักษ์                    ผู้ใหญ่บ้าน
     หมู่ที่ ๙      บ้านหนองเสือนอก      นายสมภพ      จิตต์นิยม                                ผู้ใหญ่บ้าน
     หมู่ที่ ๑๐    บ้านวังทอง                  นายราชัน          บัวบาน                                ผู้ใหญ่บ้าน
 
การเลือกตั้ง
     เทศบาลตำบลวังศาลา ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ คือ
     ๑.  ฝ่ายบริหาร  ได้แก่ นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง ทำหน้าที่
บริหารกิจการของเทศบาลตามที่กฎหมายกำหนด มีผู้ช่วยมาจากการแต่งตั้งโดยนายกเทศมนตรี ประกอบด้วย รองนายกเทศมนตรี ๒ คน ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ๑ คน และเลขานุการนายกเทศมนตรี ๑ คน   
     ๑. นายวิสุทธิ์                  วอนเพียร                นายกเทศมนตรีตำบลวังศาลา
     ๒. นายอาณัติ                สุภาพ                      รองนายกเทศมนตรีตำบลวังศาลา
     ๓. นางสาวกิตยาภรณ์   วอนเพียร                 รองนายกเทศมนตรีตำบลวังศาลา
     ๔. นางสาวธชาษร        ใจแสน                     เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลวังศาลา
     ๕. นายทวี                     ทองกัลยา               ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลวังศาลา
 
     ๒.  ฝ่ายนิติบัญญัติ  ได้แก่ สภาเทศบาล ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติและควบคุมการบริหาร ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาล  ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง จำนวน ๑๒ คน อยู่ในตำแหน่ง
คราวละ ๔ ปี ประกอบด้วย   นายดวง   แก้วตา ประธานสภาเทศบาล ๑ คน  นางศิริขวัญ   สุภาพ    รองประธานสภาเทศบาล ๑ คน
โดยคัดเลือกจากสมาชิกสภาเทศบาล  
     สมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังศาลา   ประกอบด้วย
     เขตเลือกตั้งที่  ๑   มีสมาชิกสภาเทศบาล    จำนวน ๖ คน
     ๑.   นายดวง               แก้วตา                      สมาชิกสภาเทศบาล
     ๒.   นายสมโพช          สุขสม                      สมาชิกสภาเทศบาล
     ๓.   นายอิศรา             เนตรสุวรรณ             สมาชิกสภาเทศบาล
     ๔.   นายอัศวิน            หอมหวล                  สมาชิกสภาเทศบาล
     ๕.   นายสมหมาย        จันทร์หอม               สมาชิกสภาเทศบาล
     ๖.   นายสมาน             แอตาล                    สมาชิกสภาเทศบาล
     เขตเลือกตั้งที่  ๒   มีสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน  ๖  คน     
     ๗. นางสาววชิราภรณ์   จันทร์เพ็ญสถาพร   สมาชิกสภาเทศบาล
     ๘. นางศิริขวัญ           สุภาพ                      สมาชิกสภาเทศบาล
     ๙.  นายเกรียงศักดิ์     อิ่มศรี                       สมาชิกสภาเทศบาล
     ๑๐.นางสมศรี             กลิ่นนิ่ม                    สมาชิกสภาเทศบาล
     ๑๑.นายสนธยา          สารเจริญ                 สมาชิกสภาเทศบาล
     ๑๒. นางสมพร           จิตต์นิยม                  สมาชิกสภาเทศบาล

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

สภาพทางเศรษฐกิจ
 
การเกษตร
     ประชากรในเขตเทศบาล ร้อยละ ๘๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ 
ได้แก่  ข้าว  อ้อย พืชผัก  ไม้ผล เป็นต้น  
 
การปศุศัตว์
     เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม
เช่น  การเลี้ยงไก่  เป็ด  โค  สุกร  เป็นต้น 
 
การท่องเที่ยว
     ในเขตเทศบาลมีแหล่งท่องเที่ยวไม่มากนัก จะมีที่โดดเด่น  คือ วัดหนองเสือ 
ที่ประชาชนที่สัญจรไปมาให้ความสนใจและมาเยี่ยมชม และแวะสักการะไหว้พระ
มีห้องน้ำสวยที่โดดเด่นตะการตา 
     เทศบาลยังได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน  เช่น  การจัดงานประเพณีสำคัญต่างๆ 
อุตสาหกรรม
     โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จำนวน  ๓ แห่ง  คือ
     - หมู่ที่ ๑        บริษัท ไทยเคนเปเปอร์จำกัด  มหาชน
     - หมู่ที่ ๓        บริษัท ไทยเพิ่มพูนอุตสาหกรรม จำกัด
     - หมู่ที่ ๖        บริษัท สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด  (SCG)  
     โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็ก จำนวน ๑๔ แห่ง  (หมู่ ๑ จำนวน ๒ แห่ง ,
หมู่ ๓ จำนวน ๒ แห่ง , หมู่ ๔ จำนวน ๒ แห่ง ,หมู่ ๕ จำนวน ๒ แห่ง , หมู่ ๖ จำนวน ๑ แห่ง ,
หมู่ ๗ จำนวน ๒ แห่ง , หมู่ ๘ จำนวน ๒ แห่ง , หมู่ ๙ จำนวน ๑ แห่ง)
 
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
     การพาณิชย์      สถานีบริการน้ำมัน          ๖        แห่ง    
                   ร้านขายของฝาก           ๓        แห่ง    
                   ร้านค้าต่างๆ             ๑๐๓        แห่ง
     กลุ่มอาชีพ        มีกลุ่มอาชีพ      จำนวน  ๒  กลุ่ม
     ๑. กลุ่มนวดแผนไทย      ๒. กลุ่มทำดอกไม้จันทน์
 
แรงงาน
     จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชากรที่มีอายุ  ๑๕ – ๖๐  ปี อยู่ในช่วงกำลังใช้แรงงาน
ร้อยละ  ๙๐  เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ  ๗๓.๙๙  ซึ่งสูงกว่ามาก  แต่ค่าแรงในพื้นที่
ต่ำกว่าระดับจังหวัด  โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร  ประชากรอายุระหว่าง  ๒๕ – ๕๐ ปี
บางส่วนไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ แม้ในพื้นที่จะมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
แต่แรงงานที่ทำเป็นประชากรแฝงจากที่อื่น
 
สภาพทางสังคม
 
ข้อมูลด้านอาชญากรรมและยาเสพติด
     เทศบาลไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น  แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน  ซึ่งเทศบาล
ก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว โดยเทศบาลได้ดำเนินการติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในเขตสำนักงานเทศบาลและได้รับโอนกล้องวงจรผิดจากผู้นำหมู่บ้านและได้ทำการปรับปรุงแก้ไขให้สามารถได้งานได้ดี เพื่อเป็นการสอดส่องและเฝ้าระวังความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และทำการติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยก รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ  ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน 
 
ยาเสพติด
     ปัญหายาเสพติดในชุมชนของเทศบาล จากข้อมูลของสถานีตำรวจภูธรท่าม่วง (ป้อมแยกหนองเสือ) ได้แจ้งให้กับเทศบาลทราบ ว่า ในเขตเทศบาลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของเทศบาลที่ช่วยสอดส่อง ดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น 
การณรงค์  การประชาสัมพันธ์  การแจ้งเบาะแส  การฝึกอบรมให้ความรู้  ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่  ก็เป็นเรื่องของอำเภอท่าม่วงหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด 
 
การสังคมสงเคราะห์
     เทศบาลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
     (๑) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยเอดส์ 
     (๒) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
     (๓) ประสานการทำบัตรผู้พิการ
     (๔) โครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง ตามอำนาจหน้าที่      
     (๕) โครงการอุดหนุนเหล่ากาชาดเพื่อช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส
 
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
     เทศบาลตำบลวังศาลามีบุคลากร  เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
ดังนี้ 
๑. เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน
     ๑. รถยนต์ดับเพลิง          จำนวน ๑ คัน   (บรรจุน้ำได้  ๔,๐๐๐  ลิตรและโฟม ๒๐๐ ลิตร)
     ๒. รถยนต์บรรทุกน้ำอเนกประสงค์   จำนวน  ๑  คัน  (ขนาดบรรจุน้ำ ๑๒,๐๐๐ ลิตร)
     ๓. รถยนต์เคลื่อนที่เร็วกู้ภัย จำนวน  ๑  คัน (กองสาธารณสุขและสิงแวดล้อม)
     ๔. รถยนต์ตรวจการณ์       จำนวน  ๑  คัน
๒. บุคลากรในการปฏิบัติงาน
     ๒.๑ พนักงานดับเพลิง                                       จำนวน    ๖      คน
     ๒.๒ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)     จำนวน  ๒๓๓    คน
๓. การฝึกซ้อมบรรเทาสาธารณภัยปีที่ผ่านมา               จำนวน    ๒      ครั้ง
 

 

 

    

สภาพทางการศีกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ด้านการศึกษา
 
การศึกษา
     -  โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัด สพฐ. จำนวน ๔ แห่ง  ได้แก่  โรงเรียนวัดวังศาลา,
โรงเรียนโพธิ์ศรีสุขาราม, โรงเรียนวัดหนองเสือ, โรงเรียนบ้านหนองสะแก
     -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาล จำนวน ๑ แห่ง  คือ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลวังศาลา
     -  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๑ แห่ง  
 
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
 
การนับถือศาสนา
     -  ตำบลวังศาลาประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ   โดยมีศาสนสถานเพื่อใช้ประกอบพิธี
ทางศาสนา คือ วัด จำนวน    ๓    แห่ง   ได้แก่ วัดวังศาลา, วัดหนองเสือ และวัดโพธิ์ศรีสุขาราม    
                                     
ประเพณีและงานประจำปี
     -  ประเพณีวันขึ้นปีใหม่                         ประมาณเดือน    มกราคม
     -  ประเพณีวันสงกรานต์                        ประมาณเดือน    เมษายน
     -  ประเพณีลอยกระทง                          ประมาณเดือน    ตุลาคม   พฤศจิกายน
     -  ประเพณีวันเข้าพรรษา  ออกพรรษา      ประมาณเดือน    กรกฎาคม   ตุลาคม 
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
     ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประชาชนในเขตเทศบาลได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้แก่   
     ภาษาถิ่น  ส่วนมากร้อยละ ๙๐ % พูดภาษาไทย อีก ๑๐ % พูดภาษาอิสาน (ลาวโซ่ง)
และภาษามอญ 
 
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
     ประชาชนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ผลิตสิ่งของใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่วยบ้าง ได้แก่  การทำน้ำยาอเนกประสงค์ใช้ในครัวเรือน การสานตะกร้าจากเชือกพลาสติก และการทำดอกไม้จันทน์ เป็นต้น 
     ร้านของฝาก ที่มีเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี เช่น ร้านวุ้นเส้นท่าเรือ ร้านศรีฟ้า ร้านของฝากแม่บัวคำ
อยู่ในเขตเทศบาลตำบลวังศาลา

 

  

  

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การบริการพื้นที่
 
การคมนาคมขนส่ง
     พื้นที่ตำบลวังศาลา มีถนนสายหลักผ่านไปตัวจังหวัดกาญจนบุรี ๒ สาย คือ ถนนแสงชูโต(สายเก่า)
และถนนแสงชูโตสายใหม่
     - มีการคมนาคมสะดวก โดยมีระบบขนส่งโดยสารสาธารณะผ่าน เช่น รถโดยสารปรับอากาศ
ประจำทาง และรถตู้โดยสารสาธารณะ (ถนนแสงชูโตสายเก่า)
 
การไฟฟ้า
     ตำบลวังศาลา  มีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ๑ แห่ง  คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ท่าเรือ) การขยายเขต
ไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์  ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือ
ที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด  เนื่องจากมีพื้นที่กว้างถึง ๓๙
ตารางกิโลเมตร  และบางพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ
เทศบาลจึงไม่สามารถดำเนินการได้ทั่วถึง
 
การประปา
     เทศบาลตำบลวังศาลา  มีระบบประปา ๒ รูปแบบ คือ
     - การประปาหมู่บ้าน (ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลวังศาลา ๒ หมู่ คือประปาหมู่ ๔, ๘
และอยู่ในความรับผิดชอบของหมู่บ้านเอง จำนวน ๘ หมู่)
     - การประปาส่วนภูมิภาค (ปัจจุบันให้บริการประชาชนในพื้นที่ จำนวน ๔ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑, ๒,
๔ และหมู่ที่ ๙)
 
การสื่อสาร
     เทศบาลตำบลวังศาลา  มีให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทั่วพื้นที่ โดยมีชุมสายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน) และมีเสากระจายสัญญาณของบริษัทเอกชน
จำนวน ๓ ราย คือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน),
บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
 
การสาธารณสุข
     เทศบาลตำบลวังศาลามีสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินีตำบลวังศาลา จำนวน ๑ แห่ง
 
ทรัพยากรธรรมชาติ
 
น้ำ  เทศบาลตำบลวังศาลา มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ๒ สายหลัก คือ
     ๑.  แหล่งน้ำตามธรรมชาติ “แม่น้ำแม่กลอง” ซึ่งไหลจากเมืองกาญจนบุรีผ่านอำเภอท่าม่วง
และผ่านพื้นที่ตำบลวังศาลาไปสู่จังหวัดราชบุรี เป็นแม่น้ำที่มีน้ำตลอดปี จึงเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
ที่สมบูรณ์
     ๒.  แหล่งน้ำจากชลประทาน ท่าสาร – บางปลา เป็น เป็นแหล่งน้ำจากกรมชลประทานที่ผ่านพื้นที่ตำบลวังศาลา
     น้ำที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค  เป็นน้ำที่ได้เป็นการทำประปาจากน้ำบาดาลใต้ดิน และน้ำดิบ
จากแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา สำหรับน้ำใต้ดินมีปริมาณน้อย 
ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ให้พอเพียงได้
 
ป่าไม้  ในเขตเทศบาลตำบลวังศาลาไม่มีป่าไม้
 
ภูเขา  ในเขตเทศบาลตำบลวังศาลาไม่มีภูเขา
 
คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
     ในพื้นที่ของเทศบาลส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย  ร้านค้า  สถานประกอบการ  ตามลำดับ  และมีพื้นที่บางส่วนเป็นเขตอุตสาหกรรม จะมีเพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ก็ได้แก่  ดิน  น้ำ  ต้นไม้  น้ำในการเกษตรบางส่วนได้มาจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติอย่างแม่น้ำแม่กลอง และบางส่วนก็ได้จากระบบชลประทานแหล่งน้ำใช้ในการเกษตร
ถือว่าเพียงพอ  สำหรับการเกษตร  ปัญหาด้านขยะ  เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นของประชาชน  เอกชน
และชุมชนแออัดบางพื้นที่ขยะจึงมีมาก  การแก้ไขปัญหา เทศบาลได้จัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหา
ให้กับประชาชนและเป็นไปตามความต้องการของประชาชน  เช่น โครงการจัดหาถังขยะรองรับขยะ
ให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ และโครงการคัดแยกขยะภายในหมู่บ้าน ปัจจุบันได้ต่อยอดโดยจัดทำโครงการ
คัดแยกขยะภายในหมู่บ้านครอบคลุมทั้งตำบลต่อไป

   

• หน่วยงานและอำนาจหน้าที่

• การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

• ตรวจสอบภายใน

     • แผนการตรวจสอบภายใน

     • รายงานการตรวจสอบภายใน

     • งานควบคุมภายใน

     • การบริหารความเสี่ยง

• การปฏิบัติงาน

     • คู่มือการปฏิบัติงาน

     • มาตรฐานการปฏิบัติงาน

     • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

• การให้บริการ

     • คู่มือการให้บริการ

     • มาตรฐานการให้บริการ

     • สถิติการให้บริการ

     • ผลสำรวจความพึงพอใจ
ในการให้บริการ


• การบริหารทรัพยากรบุคคล

     • นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

     • การดำเนินการตามนโยบาย
การบริหารทรัพยากรบุคคล


     • หลักเกณฑ์การบริหารและ
พัฒนาทรัพยากรบุคคล


     • รายงานผลการบริหารและ
พัฒนาทรัพยากรบุคคลประจําปี