ข้อมูลหน่วยงานและอำนาจหน้าที่

 


 

อำนาจหน้าที่เทศบาล

                 อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลวังศาลา มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ เป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย มาตรา 50 และมาตรา 51 และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16   ดังต่อไปนี้

                    อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ เป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

                   1.รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

                   2.ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ

                   3.รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

                   4.ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

                   5.ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง

                   6.จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรม ให้แก่ ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก ”

                   7.ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้บริการ

                   8.บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

                   9.หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

                   การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

 

          มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

                   1.ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา

                   2.ให้มีโรงฆ่าสัตว์

                   3.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

                   4.ให้มีสุสานและฌาปนสถาน

                   5.บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

                   6.ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้

                   7.ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

                   8.ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ

                   9.เทศพาณิชย์

                   อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 ให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยตนเองดังนี้

                  1.การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

                  2.การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ

                  3.การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

                  4.การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

                  5.การสาธารณูปการ

                  6.การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ

                  7.การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

                  8.การส่งเสริมการท่องเที่ยว

                  9.การจัดการศึกษา

                10.การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

                11.การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

                12.การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

                13.การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

                14.การส่งเสริมการกีฬา

                15.การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

                16.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

                17.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

                18.การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

                19.การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

                20.การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

                21.การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

               22.การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

               23.การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ

               24.การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               25.การผังเมือง

               26.การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

               27.การดูแลรักษาที่สาธารณะ

               28.การควบคุมอาคาร

               29.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

               30.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

               31.กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด            

สำนักปลัดเทศบาล

        มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปของเทศบาล และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง หรือส่วนราชการใด ในเทศบาลโดยเฉพาะรวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของเทศบา

 

 

 

 

กองคลัง

        มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับ เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุของเทศบาล และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

กองช่าง

        มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานสาธารณูปโภค งานสวนสาธารณะ งานสถานที่ และไฟฟ้าสาธารณะ

 

 

 




 

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

 

    -งานธุรการ  การจัดทำเอกสาร จดหมาย หนังสือราชการต่าง ๆ จัดเตรียมและการผลิตเอกสารต่าง ๆการจัดเตรียมการประชุม  อำนวยความสะดวก ติดต่อ ประสานงานกับทุกส่วนงานของหน่วยงาน  และคำปรึกษาหรือแนะนำในเบื้องต้นแก่บุคลากร ประชาชน ผู้ที่มาติดต่อและอื่น ๆ

    1.ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข

     - งานส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา ฟื้นฟูสุขภาพประชาชนหรือการบริการอื่น ๆทางด้านสุขภาพที่เป็นปัญหาเฉพาะที่เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน  ให้คำแนะนำ คำปรึกษา การช่วยเหลือทุกกลุ่มวัยและผู้ด้อยโอกาส  ผู้พิการ ผู้ผ่านบำบัดยาเสพติด  ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพกายและจิต  การควบคุมโรคติดต่อต่าง ๆภายในชุมชน  และอื่น ๆ

    - งานควบคุมและป้องกันโรค   

    - งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม  ได้แก่งานเกี่ยวกับงานควบคุมด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม   งานสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ  งานควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  งานป้องกันควบคุมแก้ไขเหตุรำคาญและมลภาวะ  งานสุขาภิบาลโรงงาน  งานอาชีวอนามัย  งานฌาปนกิจ

    - งานสัตวแพทย์  ได้แก่ งานควบคุมและรับผิดชอบโรคสัตว์  งานควบคุมและรับผิดชอบโรคที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่าที่นำมาเลี้ยงหรือสัตว์ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ  งานการระวังและรับผิดชอบโรคในกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบอาชีพซึ่งเสี่ยงต่อการติดโรคสัตว์  งานควบคุมการฆ่าสัตว์และโรงฆ่าสัตว์  งานควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า  งานป้องกันโรคติดเชื้อหรืออันตรายหรือเหตุรำคาญจากสัตว์  งานรายงานข้อมูลสถิติและการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับงานด้านสัตวแพทย์

    - งานรักษาความสะอาด  ตรวจสอบความสะอาดเรียบร้อยของชุมชนและสิ่งแวดล้อม  แก้ไขปัญหาในงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ  การให้บริการสาธารณสุขในด้านเวชภัณฑ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ และอื่น ๆ






หน่วยตรวจสอบภายใน

มีหน้าที่ความรับผิดชอบการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและตัวเลขต่างๆ  ด้วยเทคนิคและวิธีการตรวจสอบที่ยอมรับโดยทั่วไปปริมาณมากน้อยตามความจำเป็นและเหมาะสม  โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของกระบวนการควบคุมภายในและความสำคัญของเรื่องที่ตรวจสอบ  รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลการบริหารและการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ  ตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ  การเงิน  การพัสดุ  และทรัพย์สิน  การบริหารงานด้านต่างๆของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย  กฎหมาย  ระเบียบข้อบังคับ  ตรวจสอบระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สิน  และการใช้ทรัพยากรทุกประเภท  ประเมินผลการปฏิบัติงานและเสนอแนะวิธีการหรือมาตรการในการปรับปรุง  แก้ไข  เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลและประหยัด  เสนอแนะเพื่อป้องปรามมิให้เกิดความเสียหายหรือการทุจริตรั่วไหลเกี่ยวกับการเงิน  หรือทรัพย์สินต่างๆของเทศบาล  สอบทานระบบการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและ/หรือระเบียบ  ข้อบังคับ  คำสั่งที่ราชการกำหนดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ตรงตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับนโยบาย  ติดตามผลการตรวจสอบ  เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารท้องถิ่น  และปลัดเทศบาลเพื่อให้การปรับปรุงแก้ไขของหน่วยรับตรวจสอบ  เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารท้องถิ่น  และปลัดเทศบาลเพื่อให้การปรับปรุงแก้ไขของหน่วยรับตรวจถูกต้องตามที่ผู้ตรวจสอบภายในเสนอแนะ  สอบทานและประเมินผลระบบการควบคุมภายใน  ให้คำปรึกษาแนะนำตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆเกี่ยวกับงานในหน้าที่และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานในหน่วยงานและปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย