สาระโดยสรุปเกี่ยวกับพราะราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐

8 กุมภาพันธ์ 2559
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

สาระโดยสรุปเกี่ยวกับพราะราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐

หลักการและแนวคิด

                        พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นกฏหมายที่รองรับสิทธิได้รู้ของประชาชนที่เกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ โดยประชาชนไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารนั้น เมื่อประชาชนได้รู้ข้อมูลข่าวสารแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อปกป้องประโยชน์ของตนเอง ปกป้องประโยชน์สาธารณะ และเพื่อการมีส่วนร่วมในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

เจตนารมณ์

                       ๑.   เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้หรือรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานต่างๆของรัฐ เพื่อสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้อย่างถูกต้อง  รวมทั้งมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารและตรวจสอบการใช่อำนาจของรัฐ อันจะเป็นการส่งเสริมให้มีรัฐบาลที่บริหารบ้านเมืองอย่างมีประสิทธิภาพโปร่งใส เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนมากยิ่งขึ้น

                      ๒.   เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ต้องเปิดเผย หรืออาจไม่เปิดเผยเพื่อให้ชัดเจนต่อการปฏิบัติ โดยจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ หรือต่อประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน

                     ๓.   เพื่อคุ้มครองการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ

หลักการที่สำคัญ

                    ๑.   เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่างๆของรัฐ ประชาชนทุกคนสามารถใช้สิทธิรับรู้ ซึ่งจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายรวมถึงตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้เป็นไปอย่างโปร่งใส อันเป็นพื้นฐาที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสังคมประชาธิปไตย

                   ๒.   การให้ความคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งหน่วยงานที่จะเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานรัฐแห่งอื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลมิได้ เว้นแต่เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนดไว้เท่านั้น

                   ๓.  ข้อมูลข่าวสารของราชการทั้งหมดหรือส่วนใหญ่  สามารถเปิดเผยได้ภายใต็หลักการที่ว่า "เปิดเผยเป้นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น" โดยข้อยกเว้นจะมีได้เฉพาะกรณีที่มีกฏหมายกำหนดว่าไม่ต้องเปิดเผยเท่านั้น

ประชาชนจะใช้สิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างไรบ้าง

                   ๑.  สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ

                        - ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยโดยนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น บรรดา "กฏ" ต่างๆของหน่วยงาน เป็นต้น

                       - ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้หูเป็นการทั่วไป ณ  ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานนั้นๆ เช่น แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงาน เป็นต้น

                      - ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้ตามคำขอของประชาชนเป็นการเฉพาะราย โดยประชาชนยื่นคำขอในข้อมูลที่ต้องการทราบ

                   ๒. สิทธิร้องเรียน

                                    ถ้าประชาชนเห็นว่า หน่วยงานของรัฐไม่นำข้อมูลข่าวสารตามที่กฏหมายกำหนด ไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกาา หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารตามที่กฏหมายกำหนดไปแสดงที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร หรือไปจขอข้อมูลแล้วหน่วยงานรัฐเพิกเฉย ล่าช้าหรือไม่ดำเนินการใดๆ ภายใน ๑๕ วัน หรือไม่แนะนำเรื่องขอข้อมูลข่าวสาร หรือไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควรประชาชนสามารถใช้สิทธิร้องเรียนได้

                  ๓.  สิทธิอุทธรณ์

                        - กรณีที่ ๑ เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคำขอ หรือมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสีย ผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.) ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น

                        - กรณีที่ ๒ หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลให้ตรงตามที่คำขอ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.) ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่ยินยอมแก้ไขหรือลบข้อมูลข่าวสาร

                 ๔.  สิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

                       - ในกรณีที่ประชาชนทราบว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของตน ก็มีสิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลนั้น โดยทำหนังสือถึงเจ้าหนที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ

                ๕.  สิทธิเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของตน

                     - ได้แก่ สิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของตนที่หน่วยงานของรัฐเก็บรวบรวมไว้ สิทธิขอแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของตนได้พบว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของตนส่วนใดไม่ถูกต้อง ฯลฯ

 

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!